ห้องสมุดประชาชน อำเภอพิบูลย์รักษ์

แนะนำหนังสือมาใหม่!

 

รหัสบาร์โค้ด 600012  กฤษณาไม้หอม ไม้มหาเศรษฐี

 

ค้นหาและศึกษาดาวเคราะห์

อีเมล พิมพ์ PDF

 

70094

ชื่อหนังสือ ค้นหาและศึกษาดาวเคราะห์

ผู้แต่ง สุทัศน์  ยกส้าน

พิมพ์ที่ ปาเจรา

ครั้งที่ 2545

จำนวนหน้า 52  หน้า

ราคา 65 บาท 

ดาวเคราะห์ (ในภาษากรีก ใช้คำว่า planetes หรือ "ผู้พเนจร") คือ วัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 9 ดวง  (ปัจจุบัน 8 ดวง) ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ หมายถึง โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์

ทฤษฎีที่ได้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบันกล่าวไว้ว่า ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นมาจากการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส พร้อมๆ กับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ตรงใจกลาง ดาวเคราะห์นั้นไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ที่เราสามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรรอบ ยกเว้นดาวพุธและดาวศุกร์ และเราสามารถพบระบบวงแหวนได้ในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อย่างเช่นดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน แต่มีเพียงดาวเสาร์เท่านั้นที่เราสามารถมองเห็นวงแหวนได้ชัดเจนโดยใช้กล้องโทรทรรศน์

นิยามของดาวเคราะห์
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติร่วมกันในการกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้ 
- ไม่ใช่ดาวฤกษ์ 
- ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร 
- มีแรงดึงดูดมากพอ ที่จะทำให้โครงสร้างของดาวเป็นทรงกลม 
- เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์ 
- มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร) 
นิยามใหม่ของดาวเคราะห์นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต ถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
รายชื่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
(เรียงตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์)
> ดาวพุธ 
> ดาวศุกร์
> โลก
> ดาวอังคาร
> ดาวพฤหัสบดี
> ดาวเสาร์
> ดาวยูเรนัส
> ดาวเนปจูน
เนื้อหาในเล่มนี้มีเรื่องที่น่าสนใจอีกมากมายเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์ถ้าใครสนใจเข้ามาเปิดอ่านกันน่ะค่ะ