ห้องสมุดประชาชน อำเภอพิบูลย์รักษ์

แนะนำหนังสือมาใหม่!

 

รหัสบาร์โค้ด 600012  กฤษณาไม้หอม ไม้มหาเศรษฐี

 

วิถีชีวิตชาวใต้ ประเพณีและวัฒนธรรม

อีเมล พิมพ์ PDF

 

300325

ชื่อหนังสือ วิถีชีวิตชาวใต้ ประเพณีและวัฒนธรรม

ผู้เขียน ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์

สำนักพิมพ์ ชมรมเด็ก

ปีที่พิมพ์ 2544

จำนวนหน้า 286 หน้า

ราคา 170 บาท

 

พิธีกรรม
๑. การสู่ขอ ในอดีตการสู่ขอฝ่ายชายจะให้ญาติผู้ใหญ่ที่เป็นผู้หญิงล้วน ไปสู่ขอกับพ่อแม่ฝ่ายหญิง เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงตกลงก็จะได้กำหนดวันหมั้น การตอบตกลงของพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะไม่ขอความคิดเห็นจากบุตรสาวของตนเลย แต่ในปัจจุบันผู้ไปสู่ขอคืนมารดาหรือญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชายต้องไปสู่ขอกับผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง พร้อมกับมีของฝากฝ่ายหญิงอาจเป็นขนมหรือผลไม้ก็ได้ เมื่อไปถึงแล้วก็บอกว่ามีธุระที่จะขอปรึกษาด้วย แล้วสอบถามว่าผู้หญิงที่ต้องการไปสู่ขอมีคู่หรือยัง ถ้าฝ่ายหญิงบอกว่าไม่มีก็จะบอกว่าต้องการสู่ขอให้กับใคร ฝ่ายหญิงจะไม่ตอบตกลงในตอนนั้น และจะไม่ตอบรายละเอียด แต่จะขอเวลาปรึกษากันระหว่างญาติ ๆ ประมาณ ๗ วัน ในช่วงนั้นฝ่ายหญิงอาจจะส่งคนที่นับถือไปบอกฝ่ายชายในกรณีที่ตกลง ถ้าไม่ตกลงก็จะเงียบเฉยให้เป็นที่รู้เอาเอง เมื่อฝ่ายหญิงตกลงฝ่ายชายก็จะไปตกลงเรื่องวันแต่งงาน สินสอด ของหมั้นและมะฮัร
๒. การหมั้น ในอดีตเมื่อถึงวันกำหนดหมั้น ฝ่ายชายจะจัดเถ้าแก่ขบวนขันหมากไปยังบ้านฝ่ายหญิง ฤกษ์แห่ขันหมากใช้เวลาตอนเย็นประมาณ ๔-๕ โมงเย็น "ขันหมาก" ประกอบด้วยพาน ๓ พาน คือ พานหมากพลู พานข้าวเหนียวเหลือง และพานขนม แต่บางรายที่เป็นผู้มีฐานะดีก็อาจจะเพิ่มพานขนมขึ้นอีกก็ได้ พานหมากพลูนั้นจะมีเงินสินสอดใส่ไว้ใต้พานหมากพลู เงินจำนวนนี้เรียกว่า ลาเปะซีเฆะ หรือ เงินรองพลู ส่วนพานขนมนั้นประกอบด้วย ขนมก้อ (ตูปงปูตู) ข้าวพองและขนมก้อนน้ำตาล (ตูปงฮะลูวอคีแม) เป็นต้น ขันหมากดังกล่าวทุกพานคลุมด้วยผ้าสีสวย เมื่อขบวนขันหมากไปถึงบ้านฝ่ายหญิงก็ให้การต้อนรับ เถ้าแก่ฝ่ายชายจะบอกกล่าวขึ้นว่า "วันนี้ (ออกชื่อเจ้าบ่าว)ได้เอาของมาหมั้น (ชื่อเจ้าสาว) แล้ว" เมื่อเถ้าแก่ฝ่ายหญิง
รับของหมั้นแล้ว เถ้าแก่ฝ่ายชายจะถามต่อไปทันทีว่า "เงินหัวขันหมากนั้นเท่าใด" ซึ่งเถ้าแก่ฝ่ายหญิงจะต้องตอบไปจากนั้นเป็นการปรึกษาหารือถึงกำหนดวันแต่งงาน วันจัดงาน และการกินเลี้ยง และก่อนฝ่ายชายจะกลับฝ่ายหญิงจะนำผ้าโสร่งชาย (กาเฮงแปลก๊ะ) หรือผ้าดอกปล่อยชาย (กาเฮงบาเต๊ะลือป๊ะ) อย่างใดอย่างหนึ่งใส่พานที่ใส่หมากพลูมาหมั้น ส่วนพานข้าวเหนียวเหลืองและพานขนมก็จะได้รับขนมจากฝ่ายหญิงใส่พานนำกลับ
การหมั้นในปัจจุบันจะทำได้ ๒ ลักษณะคือ หมั้นก่อนแต่งทำพิธีนิกะห์(การแต่งงานตามหลักศาสนา) หรือหมั้นหลังทำพิธีนิกะห์ ซึ่งจะเป็นผลดีและมีข้อห้ามต่างกัน กล่าวคือถ้าหมั้นก่อนแต่งงานเจ้าบ่าวจะถูกต้องตัวเจ้าสาวไม่ได้ ส่วนการหมั้นหลังพิธีนิกะห์แล้ว เจ้าบ่าวสามารถถูกต้องตัวเจ้าสาวได้ เจ้าบ่าวจึงสวมของหมั้นให้กับเจ้าสาวได้และสามารถจัดพิธีนั่งบัลลังก์เพื่อให้ญาติทั้ง ๒ ฝ่ายร่วมแสดงความยินดีได้อย่างสมเกียรติ ส่วนขันหมากมีการจัดคล้ายกับในอดีต
๓. พิธีแต่งงาน ในอดีตพิธีแต่งงานโดยทั่วไปจะจัดหลังหมั้นแล้วไม่เกิน ๒ สัปดาห์ โดยถือฤกษ์๔-๕ โมงเย็นของวันใดวันหนึ่ง ฝ่ายเจ้าบ่าวจะยกขันหมากไปยังบ้านเจ้าสาว ขบวนดังกล่าวนี้ประกอบด้วยเจ้าบ่าว เพื่อนเจ้าบ่าว และญาติผู้ใหญ่ประมาณ ๕-๖ คน การไปคราวนี้ไม่มีข้าวของอะไรต้องนำไป นอกจากเงินหัวขันหมาก (จะต้องเป็นจำนวนเลขคี่) ซึ่งใส่ไว้ในขันหมากทองเหลืองใบเล็ก ๆ ห่อหุ้มด้วยผ้าเช็ดหน้าให้เจ้าบ่าวถือไป และกล้วยพันธุ์ดี เช่น กล้วยหอมอีก ๒-๓ หวี เท่านั้น ในวันดังกล่าวทางบ้านเจ้าสาวก็เตรียมการต้อนรับโดยเชิญโต๊ะอิหม่ามเป็นประธานในพิธีแต่งงาน พร้อมด้วยคอเต็มและผู้ทรงคุณธรรมอีก ๑ คน เพื่อเป็นสักขีพยาน ผู้ทรงคุณธรรมดังกล่าวนั้นจะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือบุคคลอื่นก็ได้ ข้อสำคัญอยู่ที่คน ๆ นั้นต้องเป็นที่ยอมรับนับถือว่าเป็นคนมีศีลสัตย์ เมื่อหัวขันหมากไปถึงบ้านเจ้าสาว ฝ่ายเจ้าสาวก็ให้การต้อนรับ โอกาสนี้เจ้าบ่าวต้องส่งมอบห่อเงินหัวขันหมากให้กับโต๊ะอิหม่าม เพื่อโต๊ะอิหม่ามจะได้ตรวจนับให้ถูกต้องครบถ้วนและควบคุมเงินหัวขันหมากนั้นไว้ จากนั้นก็มีการร่วมรับประทานอาหารกัน สำหรับตัวเจ้าสาวนั้นเก็บตัวอยู่ในห้องหรือในครัวเท่านั้น หลังจากการเลี้ยงอาหารผ่านไปแล้วเจ้าบ่าวไปนั่งขัดสมาธิลงตรงเบื้องหน้าโต๊ะอิหม่าม โอกาสนี้พ่อเจ้าบ่าวจะไปถามเจ้าสาวว่ายินยอมหรือไม่ การถามตอบในครั้งนี้จะมีพยานอยู่ใกล้ ๆ หากหญิงสาวไม่ยินยอมก็จะให้ญาติผู้ใหญ่ที่สามารถอ้อนวอนเกลี่ยกล่อมจิตใจสาวจนยอมเข้าพิธี เมื่อตกปากยินยอมพยาน ๒ คน รับทราบด้วยแล้วก็ดำเนินการขั้นตอนต่อไป ดำเนินการขั้นต่อไปโดยพ่อหรือผู้ปกครอง (ต้องเป็นชาย) ของเจ้าสาว "วอเกล์" กับโต๊ะอิหม่าม บิดาจะต้องเป็นผู้จัดการแต่งงานให้บุตรสาว
ของตน แต่เมื่อผู้เป็นบิดาไม่มีความรู้ ความเข้าใจในพิธีปฏิบัติก็ให้มอบหมายให้ผู้อื่น ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจปฏิบัติแทน จากนั้นจะมีการท่องเที่ยวหรืออ่านศาสนบัญญัติที่เกี่ยวกับการแต่งงานเรียกว่า "บาจอกุฐตึเบาะห์ ซึ่งอ่านโดยคอเติบหรือโต๊ะอิหม่ามจบจาก "บาจอกุฐตึเบาะห์" แล้ว โต๊ะอิหม่ามก็ยื่นมือไปจับปลายนิ้วมือของเจ้าบ่าวนิ้วหนึ่ง นิ้วใดก็ได้เพียงนิ้วเดียวพร้อมกับเริ่มประกอบพิธีแต่งงานให้โดยกล่าววาจาเป็นสำคัญ โดยโต๊ะอิหม่ามก็จะกล่าวดังนี้ "ยา…อับดุลเลาะห์ อากูนิกะห์ อากันดีเกา บาร์วอเกล์วอ ลีบาเปาะญอ อากันดากู ดืองันฮาลีเมาะ เป็นตีมูฮำมัด อีซีกะห์ เว็นซะบาเญาะญอ สะราโต๊ะตฆอปูและ ตีโยโก๊ะตูนา" แล้วเจ้าบ่าวต้องกล่าวตอบรับตาม "อากูตรีมอ นิกะห์ญอ คืองันอีซีกะห์ เว็บซะบาเญาะ ตึรึซึโมะอีตู" แปลว่า ได้ยอมรับการ
แต่งงาน ตามจำนวนเงินหัวขันหมากดังกล่าว