ห้องสมุดประชาชน อำเภอพิบูลย์รักษ์

แนะนำหนังสือมาใหม่!

 

รหัสบาร์โค้ด  600210  การปลูกพืชไม่ใช้ดิน

 

อัครสาวก

อีเมล พิมพ์ PDF

 

200454
ชื่อหนังสือ อัครสาวก
ผู้เขียน อิ่มบุญ พุทธรักษา
สำนักพิมพ์ บีเวล พับลิชชิ่ง จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2553
จำนวนหน้า 184 หน้า
ราคา 165 บาท


รู้จัก “อัครสาวก”
อัครสาวกหรือมหาสาวก” ในที่นี้หมายถึงภิกษุผู้บรรลุธรรมชั้นสูงสุด เป็นพระสาวกสำคัญของพระพุทธเจ้าที่มีชื่อเสียงปรากฏในที่ต่างๆ รวมทั้งในพระไตรปิฎกจำนวน 80 รูป
อัครสาวกรูปสำคัญที่นั่งอยู่เบื้องขวาซ้ายของพระพุทธเจ้าคือพระสารีบุตรและ
มหาโมคคัลลานะ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจึงมักเห็นภาพเช่นนี้ในรูปประติมากรรมและจิตรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า
สำหรับในการเลือกเป็นพระอัครสาวกนั้นทำโดยยึดถือคุณธรรมความสามารถความชำนาญแตกฉากในความรู้สาขาต่างๆ ไม่ได้นำเอาพรรษาและอายุมาพิจารณา ดังนั้นจะเห็นว่ามีการจัดฆราวาสที่เป็นพระอรหันต์เข้าเป็นพระมหาสาวกด้วย
นอกจากนี้คือเลือกพระสาวกผู้เป็นเอตทัคคะเป็นหลักแล้วรวมพระสาวกที่อยู่ในกลุ่มเข้าด้วย ที่เหลือก็จะเป็นการต่างคนต่างเลือก
ข้อสันนิษฐานการเลือกพระมหาสาวกนี้น่าจะมีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยเห็นได้จากคำเรียกว่า พระสาวกเถระผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเท่าระบุนามก็เป็นพระมหาสาวกในจำนวน 80 รูป
จนกระทั่งมาเด่นชัดในสมัยของพระอรรถกถาจารย์ในลังกาคือมีพระคัมภีร์ที่ปรากฏอยู่ซึ่งเป็นการแต่งขึ้นในสมัยนี้ เป็นยุคพระพุทธศาสนารุ่งเรือง ผู้มีชื่อเสียงคือพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 900-1000
พระอัครสาวก 80 รูปนี้ มีผู้สันนิษฐานในภายหลังว่าต้องการแสดงความมั่งคั่งของสังคมยุคนั้น นอกจากนั้นยังเป็นจำนวนที่สัมพันธ์กับพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา
พระอัครสาวกจำนวน 41 รูป ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะจากพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงมีความสามารถเฉพาะด้าน โดยเหตุผลที่ว่าแสดงความสามารถออกมาได้อย่างเหมาะสมกับเหตุการณ์ ได้สร้างบุญสะสมมาแต่อดีตชาติ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเป็นพิเศษ
คุณลักษณะที่สำคัญอีกประการคือ เป็นผู้บำเพ็ญบารมีมามาก ได้บรรลุธรรมขั้นสูง และเป็นผู้มีธรรมมั่งคง
ที่สำคัญคือต้องเป็นผู้ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม เผยพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง เป็นกำลังสำคัญในการรักษาธรรมวินัยให้มันคงด้วยการปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเหมาะสม และปฏิบัติชอบ ซึ่งทำให้สามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้เป็นเวลานาน ณ วันนี้ก็กว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว