ห้องสมุดประชาชน อำเภอพิบูลย์รักษ์

แนะนำหนังสือมาใหม่!

 

รหัสบาร์โค้ด 400409  เรียน-เล่น-เก่งใช้-ภาษาไทยยุค Hi-Tech


 

เกมภาษาไทย คิดให้สนุก ประลองเขียนคำไทย

อีเมล พิมพ์ PDF

 

รหัสบาร์โค้ด 000441

ชื่อหนังสือ เกมภาษาไทย คิดให้สนุก ประลองเขียนคำไทย

ผู้เขียน ช.ช้างน้อย

สำนักพิมพ์ สุวีริยาสาส์น.

ปีที่พิมพ์ มิถุนายน 2552

จำนวนหน้า 80 หน้า

ราคา 60 บาท

 

การสังเกตลักษณะคำไทยแท้กับคำที่มาจากภาษาอื่น
ลักษณะคำไทยแท้

คำไทยแท้ส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว มีใช้ครบทั้ง ๗ ชนิด
สำหรับคำไทยที่มีหลายพยางค์อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้

๑.๑ การกร่อนเสียง สันนิษฐานว่า คำ ๒ พยางค์บางคำแต่เดิมมาจากคำพยางค์เดียว ๒ คำเรียงกัน เมื่อพูดเร็วๆ เสียงแรกจึงกร่อนลง

มะปราง                 มาจาก                    หมากปราง

ตะขาบ                   มาจาก                    ตัวขาบ

สะใภ้                     มาจาก                    สาวใภ้

๑.๒ การแทรกเสียง สันนิษฐานว่าเดิมมีคำพยางค์เดียวเรียงกัน ๒ คำ ต่อมาแทรกเสียง ?อะ? ตรงกลาง   กลมกลืนกับเสียงตัวสะกดของคำหน้า คำที่แทรกมาใหม่กลายเป็นพยางค์หน้าของคำหลัง เช่น

ลูกกระเดือก          มาจาก                    ลูกเดือก

นกกระจอก           มาจาก                    นกจอก

๑.๓ การเติมพยางค์หน้าคำมูล   คำเหล่านี้มักมีความหมายใกล้เคียงกัน ทั้งคำที่เติมและคำที่ยังไม่ได้เติม เช่น
ดุกดิก                     เป็น                        กระดุกกระดิก
ท้วง                        เป็น                        ประท้วง
คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ทั้งคำในมาตราตัวสะกดและแม่ ก กา
คำไทยแท้ไม่ค่อยใช้พยัญชนะต่อไปนี้   ฆณ   ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬยกเว้นบางคำ   เช่น   ฆ่า เฆี่ยน   ระฆัง ศอกศึก ธ เธอณ ฯพณฯ ใหญ่หญ้า   ฯลฯ

คำไทยแท้มีการใช้วรรณยุกต์ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป
คำไทยแท้ที่ออกเสียงไอ จะประสมด้วยสระ ?ใอ?   มีทั้งหมด ๒๐ คำ นอกนั้นประสมด้วยสระ ?ไอ?   แต่จะไม่ใช้ ?อัย?   หรือ ?ไอย?
ตัวอย่างคำไทยแท้
พ่อ แม่ปู่ ย่า   ตายาย พี่   ป้าน้า อา น้อง หลาน ลุง เหลนหัว หู ตา คิ้ว ปาก   ฟัน แขน   ขา นิ้ว บ้าน   ครัว หมอน มุ้ง เสื่อ   ฟ้าหม้อ   ไห   ถ้วยชาม   ไถ คราดจอบ เสียม   เบ็ด แห   อวน เรือแพ   ดิน น้ำลม ไฟ ฟ้าดาว ป่า เขานั่น นอน   เดินเห็น ถาม พูดอยู่ ตาย    ฉัน ท่าน เธอ แกเขา มัน   หนึ่ง สอง   สาม สี่ห้า    ดี   เลว เล็ก   ใหญ่ หวาน เปรี้ยว   หอม หนัก ฯลฯ

ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต มีข้อสังเกตดังนี้
มักเป็นคำหลายพยางค์
ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดอย่างคำไทยแท้
มักมีตัวการันต์
คำที่มีอักษรควบเป็นตัวสะกด เช่น จิตร อัคร   ฯลฯ
มีบางคำใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราอย่างคำไทยแท้ เช่น มน(ใจ)
คำที่ประสมด้วยอักษร ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ   ภ ศ ษ ฬ
คำที่มีรูปวรรรณยุกต์ และมีไม้ไต่คู้กำกับ   มักเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ไม่ใช่ภาษาบาลีสันสกฤต   ยกเว้นมีการเติมลงในภายหลัง เช่น เล่ห์พ่าห์   เสน่ห์ ฯลฯ
นิยมใช้   ฤ ฤา ฦ ฦา
ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต
บิดา มารดา ศีรษะ เคหะ ปักษิน ปักษิณี   ราชา ราชินี ยักษ์ เกษม เกษตร ตฤณ ทฤษฎี เทวษ ประพฤติ อัศวะ สัตย์พิสมัย ทุกข์ เลขยุค เมฆ รัฐครุฑ   วุฒิ   บาท พุทธ เกศ   รสบุญ การุณย์ ยนต์เคารพ ลาภ จันทร์จันทน์ วงศ์   ฯลฯ

ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาเขมร   มีหลักการสังเกตดังนี้
๑. ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์ ยกเว้นบางคำ เช่น เสน่ง   เขม่า ฯลฯ
๒. นิยมใช้ตัวควบกล้ำ    ร ล ว   และอักษรนำ
๓. คำสองพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วย กำ คำ จำ   ชำ ดำ ตำ   ทำ มักมาจากภาษาเขมร
๔. คำที่ขึ้นต้นด้วย บัง บัน บำ บรรมักมาจากภาษาเขมร
๕. คำเขมรใช้พยัญชนะตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด   แม่กด ใช้   จ   สสะกด
แม่ กน ใช้ ร ญ   ล   สะก
ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาเขมร
บำบัด    กำแพงกระบือ กำจัด   ตำรวจรัญจวน ควาญ    เขมาบำเพ็ญ   บำนาญ บังอาจบังเกิด บังคม เสวยถกล ขจร   เจริญฉบับ สะพาน ขจัด เสด็จ เสวย เถลิง ไผท จรัส   โฉนด ฉลอง  ถวาย เผด็จ เพนียด   เสบียง   ขลัง ตรัส ชำนาญ   บังอร ตำบล ไถง     พนม

เพยีย   ผจง ผกา     ฯลฯ