หน้าหลัก กฎหมาย / ปฏิญญา กฎบัตร ปฏิญญา และแผนต่างๆ

กฎบัตร ปฏิญญา และแผนต่างๆ

E-mail Print PDF

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

      การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ณ ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ผู้นำรัฐบาลอาเซียนได้ให้การรับรองกฎบัตรอาเซียน(ASEAN Charter) เพื่อปรับปรุงการทำงานของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมีกรอบในการทำงานที่ชัดเจน   และสามารถปรับตัวตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมือง กฎบัตรอาเซียนเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่วางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรจัดระบบการทำงานและบริหารกลไกความร่วมมือระหว่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลตั้งแต่วันที่  15 ธันวาคม  พ.ศ. 2551 (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.2553 : 14)

      กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)  กล่าวถึงการศึกษาไว้ในบทที่ 1 ข้อย่อยที่ 10  ว่า “เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นด้านการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีพและด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างพลังประชาชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาคมอาเซียน  ซึ่งผู้นำอาเซียนเห็นว่าความร่วมมือด้านการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศสมาชิกอาเซียนและเป็นมิติที่สำคัญของเสาหลักทั้งสามด้านของประชาคมอาเซียนและได้ย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการเพิ่มความตระหนักในความเป็นอาเซียนและอัตลักษณ์ของอาเซียน รวมทั้งการส่งเสริมความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมในอาเซียน

        ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน       

         ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่ชะอำ-หัวหิน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2552 ประกอบด้วยประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ของบรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนามได้เห็นชอบปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เพื่อยืนยันภารกิจในการสนับสนุนการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย  3 เสาหลัก ได้แก่ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ  และความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ทั้ง 3 เสาหลักต่างสนับสนุนซึ่งกันและกันให้สำเร็จภายในปี 2558 ตามที่ได้ตกลงกันโดยผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550 (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2552 ก: 16-17)  ดังมีรายละเอียดดังนี้     

      ปฏิญญาหัวหิน-ชะอำ ว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (พ.ศ. 2552-2558) ประกอบด้วยร่างแผนงานของ 3 ประชาคม และแผนปฏิบัติงานสำหรับข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนฉบับที่ 2 ที่เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในฐานะเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาประชาคมอาเซียนโดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

      1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและการมั่นคง

         ได้แก่การสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การส่งเสริมหลักการของประชาธิปไตย  การส่งเสริมการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน ตระหนักถึงคุณค่าและค่านิยมทางวัฒนธรรมการสร้างเครือข่ายผู้บริหารโรงเรียน เพื่อบูรณาการความร่วมมือด้านการศึกษา การจัดงานฉลองวันอาเซียนในประเทศสมาชิก ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นวันสถาปนาอาเซีย 

      2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ

      ได้แก่การจัดทำกรอบการพัฒนาทักษะในอาเซียน การพัฒนากรอบทักษะ ในการถ่ายโอนนักเรียน การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีความชำนาญการในภูมิภาค  การพัฒนามาตรฐานอาชีพที่เน้นศักยภาพในอาเซียน ที่สนองตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม

      ได้แก่การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอัตลักษณ์อาเซียน การวิจัยและพัฒนาของอาเซียน  การสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อบรรลุเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชน การจัดทำเนื้อหาอาเซียนร่วมกัน ตลอดจนการแบ่งปันทรัพยากรและจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาการศึกษาในภูมิภาค

       ปฏิญญาดังกล่าวจึงเป็นกรอบการดำเนินงานของอาเซียนที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านเสาหลักอาเซียนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันโดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของแรงงานและการจัดระบบรองรับมาตรฐานฝีมือแรงงาน ที่เน้นความสามารถของแรงงานอาเซียน (ASEAN Workforce Competency)

       4. แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) (พ.ศ.  2552 –2558)

      ในปีพ.ศ. 2552 ผู้นำอาเซียนได้ให้การรับรองแผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (เล่มเขียวของตุ้มงานวิพากษ์แผนอาเซียน หน้า23) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 โดยมีเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน (Caring and Sharing Society) เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว  และความเป็นเอกภาพในหมู่สมาชิกอาเซียน โดยเสริมสร้างอัตลักษณ์ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และสวัสดิการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของ ภูมิภาคและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ในการมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว อาเซียนจะส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาอย่างเที่ยงธรรม ส่งเสริมการลงทุนทางการศึกษา  การศึกษาตลอดชีวิต การฝึกอบรมและการเพิ่มขีดความสามารถ ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ในกิจกรรมด้านสังคมและเศรษฐกิจ

       แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนให้ความสำคัญต่อการบูรณาการการศึกษาเข้ากับวาระของอาเซียนด้านการพัฒนาและการสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ โดยเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง การส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่ปฐมวัย และการปลูกฝังเรื่องของอาเซียนในกลุ่มเยาวชนผ่านการศึกษาและกิจกรรมต่างๆ  เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

      5. ยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (ASEAN 5-Year Plan on Education  2011 – 2015)  ด้านการศึกษาของอาเซียน

      ที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 6ได้รับรอง แผนยุทศาสตร์ 5 ปี ด้านการศึกษาของอาเซียนเพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานด้านการศึกษาของอาเซียน ดังนี้

      ยุทธศาสตร์ที่ การเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนผ่านความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน

       อาเซียนมีเป้าหมายในการเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ด้วยการสร้างความตระหนักในคุณค่าการเป็นพลเมืองอาเซียนในสังคมทุกระดับทั้งในสาขาการศึกษายุทธศาสตร์ ในการดำเนินการ ดังกล่าวประกอบด้วยการส่งเสริมสนับสนุนการ จัดทำโครงการอาเซียนศึกษา ในภูมิภาค หลักสูตรของโรงเรียนในอาเซียน ในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้รวม   การเรียนการสอนเกี่ยวกับอาเซียนไว้ด้วย  รวมทั้งจัดทำโครงการฝึกอบรมครูและ พัฒนาสื่อสารเรียนการสอนในภูมิภาค  รวมทั้งการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างสมาชิกอาเซียน 

      ยุทธศาสตร์ที่ ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ย่อยดังนี้

         ยุทธศาสตร์ที่ 2.1 การเสริมสร้างโอกาสในการได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเพื่อบรรลุ เป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ในปี 2558

         ยุทธศาสตร์ที่ 2.2  การเพิ่มคุณภาพการศึกษา การจัดมาตรฐานการศึกษา การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาอาชีพ ด้วยการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษา ส่งเสริมการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต รวมทั้งมีระบบการตอบแทนครูที่มีผลงานเป็นเลิศ

      ยุทธศาสตร์ที่ การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนและการจัดการศึกษาให้มีความเป็นสากลโดยการจัดการศึกษาในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์ดังนี้

         1. ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและสภาพเศรษฐกิจของโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะและความชำนาญสูงและสามารถเคลื่อนย้ายข้ามภูมิภาคได้

         2. การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาในด้านคุณภาพ   การให้บริการในสาขาต่างๆ ที่มีทางเลือกอย่างหลากหลายและมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

         3. สภาพสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ทำให้ทุกประเทศต้องการแรงานที่มีความรู้  ความชำนาญ สูงและต้องได้รับการพัฒนาเฉพาะด้านอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลของประเทศต่างๆ  จึงตั้งเป้าหมายเพื่อจัดการศึกษาข้ามพรมแดน ส่งผลให้การพัฒนาการศึกษา ต้องคำนึงถึงคุณภาพ การเสริมสร้างเศรษฐกิจ และประสานสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค 

      6. นโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่เป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558  ของกระทรวงศึกษาธิการ

        กระทรวงศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษา        ในอาเซียนสู่เป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรหลัก ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ทั้งนี้ที่ประชุมเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2553 ได้เห็นชอบนโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่เป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

       นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารและเจตนคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน อัตลักษณ์อาเซียน และเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาและประชาชนเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558

       นโยบายที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน 2 และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

       นโยบายที่ 3 การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน 3 รวมทั้งการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียนและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ

       นโยบายที่ 4 การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ 4 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วยการจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษาการพัฒนา ความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษา ควบคู่กับหารเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน และ

       นโยบายที่ 5 การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวเป็นการจัดทำความร่วมมือด้านการศึกษาของกระรวงศึกษาธิการเพื่อขับเคลื่อนสู่ประชาคม 5สังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โดยการผนึกความร่วมมือของหน่วยงานทั้งในประเทศและประเทศสมาชิกอาเซียน

      นอกจากนี้ที่ประชุมได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานหลักจัดทำแผนปฏิบัติการตาม นโยบายตามปฏิญญาชะอำ - หัวหินว่าด้วยว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรแบ่งปัน


 

ผู้บริหารจัดการระบบ

แบบสำรวจความคิดเห็น

การศึกษามุ่งสู่ประชาคมอาเซียน?