.:: อาเซียน (ASEAN) กศน.อำเภอพิบูลย์รักษ์ ::.

บทบาทสตรีกับประชาคมอาเซียน

E-mail Print PDF

        นางสาวจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นวิทยากรในการสัมมนาวิชาการเรื่อง “สตรีกับการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” เมื่อเร็วๆนี้ ณ หอประชุมบ้านมนังคศิลา หอประชุมมนังคศิลา กรุงเทพมหานครรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในโอกาสนี้ว่า ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้พยายามผลักดันวาระการศึกษาเข้าสู่อาเซียน เนื่องจากการรวมกลุ่มของอาเซียนในตอนแรกไม่ได้ให้ความสนใจกับประเด็นการศึกษาเท่าที่ควร ส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการได้ผลักดันวาระการศึกษาลงในปฏิญญาหัวหิน เมื่อปี ๒๕๕๒ โดยถูกรวมเข้าในกลุ่มของเสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และส่งผลให้สมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญกับการศึกษามากยิ่งขึ้น

         รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ทุกคนให้ความสำคัญกับการศึกษาของไทย และคาดหวังว่ากระทรวงศึกษาธิการจะเป็นแนวหน้าในการขับเคลื่อนการศึกษาของไทยไปสู่ประชาคมอาเซียน แต่อย่างไรก็ตาม ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการสร้างและพัฒนาการศึกษาของไทยไปด้วยกัน ทั้งครอบครัว และครู อาจารย์ ซึ่งที่ผ่านมาก กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมความพร้อมให้คนไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยการสร้างความคระหนักรู้และความเข้าใจในอาเซียน โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการถ่ายทอดและให้ความรู้ ทั้งด้านการเปิดเสรีแรงงานและเสรีการศึกษา จึงเป็นหน้าที่สำคัญของหน่วยงานทางการศึกษาในการพัฒนาคนให้มีความรู้และความสามารถ ทักษะทางอาชีพ ภาษา และเทคโนโลยีให้สามารถแข่งขันกับประเทศสมาชิกได้

         รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า นอกจากนั้น คนไทยต้องได้รับการส่งเสริมทางด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารของประชาคมอาเซียน อีกทั้งการส่งเสริมให้เรียนรู้ภาษาของประเทศสมาชิก เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารและการประกอบอาชีพในอนาคต นอกจากนี้ ต้องส่งเสริมทักษะทางด้านเทคโนโลยีให้กับคนไทย ให้สามารถใช้เทคโนโลยีในการสร้างเครือข่ายสำหรับการติดต่อ แลกเปลี่ยน และหาความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดโอกาสให้นักเรียนส่งผลงานเกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนผ่านทางเว็บไซต์เข้าประกวด เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนแก่คนทั่วไปและฝึกทักษะด้านเทคโนโลยีแก่ผู้เรียนด้วย

         “ดังนั้น ในฐานะของสตรีต้องมีการเตรียมพร้อมตนเองและสังคมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งในฐานะของสตรีที่เป็นผู้นำและฐานะของแม่ กล่าวคือ ผู้หญิงต้องเป็นผู้นำในการถ่ายทอดความรู้เรื่องอาเซียนให้มากขึ้น โดยอาศัยลักษณะเด่นของผู้หญิงที่มีความอ่อนโยนถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชาและลูกหลานในครอบครัว” รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าว

         สำหรับการสัมมนาวิชาการเรื่อง “สตรีกับการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” เป็นการสัมมนาเพื่อสร้างความตระหนักและสร้างความเข้าใจ สิทธิหน้าที่ บทบาทและศักยภาพของสตรีที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียน โดยมี นางสาวจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ นางสาวส่งศรี บุญมา รองปลัดกระทรวงแรงงาน นายมังกร ธนสารศิลป์ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ และผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นวิทยากรร่วมเสวนา ซึ่งมี ผศ.ดร. บุญส่ง ไข่เกษ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินรายการ


 

กลไกการทำงานของอาเซียน

E-mail Print PDF

กลไกการทำงานของอาเซียน มีดังต่อไปนี้

             1. การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เป็นกลไกการบริหารสูงสุด โดยเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางความร่วมมือต่างๆ มีการประชุมทุกปี

             2. การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน (ASEAN  Ministerial Meeting-AMM)เป็นการประชุมประจำปี เพื่อกำหนดแนวทางระดับนโยบายและทบทวนข้อตัดสินใจต่างๆ

             3. การประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers Meeting- AEM) เป็นการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

             4. การประชุมรัฐมนตรีด้านอื่นๆ (Other ASEAN Ministers’ Meeting)ซึ่งจัดขึ้นตามความจำเป็น และเพื่อเร่งรัดการทำงานของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งหารือเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือด้านต่างๆ เช่นการเกษตรและป่าไม้ การศึกษา สวัสดิการสังคม แรงงาน เป็นต้น

             5. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting-SOM) โดยแยกเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเมือง เศรษฐกิจ และเฉพาะด้าน เช่นพัฒนาสังคม วัฒนธรรมและสนเทศ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ

             6. คณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee-ASC) เป็นการประชุมระดับอธิบดีอาเซียนของแต่ละประเทศ ทุก 2 เดือน เพื่อติดตามความคืบหน้าและแก้ไขปัญหาในโครงการความร่วมมือต่างๆ

             7. เลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เป็นหน่วยงานบริหารกลางขององค์การ มีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าสำนักงาน ได้รับการคัดเลือกจากประเทศสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และมีรองเลขาธิการอาเซียน 2 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

             8. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) คือกรมอาเซียนในกระทรวงการต่างประเทศของแต่ละประเทศสมาชิก ทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ ภายในประเทศสมาชิกอื่นๆ รวมทั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ


Last Updated on Wednesday, 26 December 2012 15:47
 


Page 17 of 20

ผู้บริหารจัดการระบบ

แบบสำรวจความคิดเห็น

การศึกษามุ่งสู่ประชาคมอาเซียน?
 

ผอ.กศน.อ.พิบูลย์รักษ์

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

พยากรณ์อากาศวันนี้

อัตราราคาน้ำมันวันนี้