.:: อาเซียน (ASEAN) กศน.อำเภอพิบูลย์รักษ์ ::.

เสวนาวิชาการ ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

E-mail Print PDF

        นางสาวจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นวิทยากรในการเสวนาด้านการศึกษา“แนวทางยุทธศาสตร์เมืองพัทยา ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี

 

        รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สถานะของคนไทยในตอนนี้กำลังอยู่ในภาวะ“เขารู้เรา แต่เราไม่รู้เขา” หมายความว่า ทุกประเทศในชาติสมาชิกอาเซียนมีการเรียนรู้และเตรียมพร้อมสู่การเข้าเป็นประชาคมอาเซียนเป็นอย่างดี ในขณะที่ประเทศไทยมีความตระหนักรู้ในเรื่องอาเซียนที่ด้อยกว่าประเทศอื่น ซึ่งอยู่ในลำดับที่ ๘ คิดเป็นร้อยละ ๖๗ จากสมาชิกทั้งหมด ๑๐ ประเทศ

        รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ในขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำโครงการเพื่อสร้างความตระหนักและสร้างความพร้อมให้กับคนไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีความร่วมมือกับกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ในการจัดอบรมครูและนักเรียนทั่วประเทศ และลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในการจัดอบรมและสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

        รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า เราต้องรีบสร้างและพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยให้มีคามรู้ใน ๓ ด้าน คือ ๑. ทักษะทางภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านของอาเซียน ซึ่งครูต้องผลักดันให้เด็กกล้าพูด กล้าแสดงออก โดยต้องเรียนรู้เพื่อให้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒. ทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครูต้องเป็นผู้นำถ่ายทอดให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ รวมถึงการสร้างเครือข่ายกับร่วมกับสถานศึกษาของประเทศสมาชิก โดยส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ระหว่างกัน ๓. ทักษะวิชาชีพ ต้องเร่งพัฒนาความสามารถทางทักษะอาชีพให้แรงงานไทยมีฝีมือ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะการเปิดเสรีตลาดแรงงานในปี ๒๕๕๘ จะมีการเคลื่อนย้ายของแรงงงานใน ๗ สาขาวิชาชีพ รวมถึงอาชีพการบริการ ๓๒ สาขา ในด้านการให้บริการโรงแรมและการอาหาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการต้องเร่งสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพมารองรับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ให้ประเทศไทยสามารถช่วงชิงความเป็นผู้นำในอาเซียน และมีความพร้อมในการรองรับการหลั่งไหลของตลาดทุนจากประเทศเศรษฐกิจต่างๆ

        “สถานศึกษาต้องมียุทธศาสตร์ในเชิงรุก มากกว่าเชิงรับ ต้องเร่งสร้างความรู้และทักษะให้นักเรียน โดยสร้างความมั่นใจให้นักเรียนกล้าเรียนรู้ กล้าแสดงออก โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ที่ต้องสร้างให้เด็กสื่อสารได้โดยไม่ต้องอาย อีกทั้งต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ นำมาสร้างเครือข่ายในการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน นอกจากนั้นต้องสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น โดยปลูกฝังให้เรียนรู้เพื่อเป็นผู้นำมากกว่าผู้ตาม และที่สำคัญต้องมีความเป็นพลเมืองดี เป็นคนมีเหตุผล รู้จักคิดวิเคราะห์ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม ”รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในตอนท้าย

        สำหรับการเสวนา “แนวทางยุทธศาสตร์เมืองพัทยา ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” มีวิทยากรร่วมเสวนาได้แก่ นางสาวจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอาเซียน, ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์, นายกฤช สินอุดม ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวัฒนธรรม และนายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา โดยมี ผศ.ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล รองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นผู้ดำเนินรายการ

 

------------------------------------------------------------------------------------------

ธมกร/ข่าว
กิตติกร/ภาพ


 

 

ศธ. จัดสัมมนาครูโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

E-mail Print PDF

        นางศรีวิการ์  เมฆธวัชชัยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาด้านการพัฒนาการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนาครูโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนทั่วประเทศ โดยมีอธิบดีกรมอาเซียนเปิดการสัมมนา รวมทั้งนางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วม เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้

        นางศรีวิการ์ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการต่างประเทศในการสร้างความพร้อมของครูและนักเรียน เพื่อรองรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียนได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในโอกาสนี้ได้การจัดการสัมมนาครูต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียขึ้น ซึ่งมีครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาของโรงเรียนนำร่องเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน(Spirit of ASEAN) ทั้งของรัฐบาลและเอกชน รวมถึงศึกษานิเทศก์และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมสัมมนา โดยมีเป้าหมายให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน และสามารถถ่ายทอดไปยังนักเรียนและชุมชนได้  

        นางศรีวิการ์ กล่าวต่อว่า ในขณะนี้มีโรงเรียนนำร่องเพื่อพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน (Spirit of ASEAN) จำนวน ๕๔ แห่ง โดยแบ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ติดกับชายแดนประเทศสมาชิกอาเซียน (Buffer School) จำนวน ๒๔ แห่ง และโรงเรียนประสานสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ (Sister School) จำนวน ๓๐ แห่ง รวมถึงโรงเรียนที่จะบูรณาการความรู้เกี่ยวกับอาเซียนลงในกลุ่มสาระวิชาต่างๆจำนวน ๑๔ แห่ง ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะขยายโรงเรียนสปิริต ออฟ อาเซียน ให้เพิ่มจำนวนเป็น ๘๔ แห่ง ครอบคลุม ๗๗ จังหวัด โดยคัดเลือกจากโรงเรียนที่มีความพร้อมเข้าร่วมการสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในประชาคมอาซียน

        นางศรีวิการ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีนักเรียน นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเรียนที่ประเทศไทยจำนวนมาก แต่คนไทยยังขาดการตื่นตัวและมองข้ามความสำคัญของประชาคมอาเซียน จึงเป็นหน้าที่สำคัญของเครือข่ายที่เข้าร่วมการสัมมนา ต้องทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลและหน่วยประสานงานให้แก่สถานศึกษาด้วยกัน รวมถึงชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความตื่นตัวและพร้อมรับมือต่อประชาคมอาเซียน

ธมกร /ข่าว
กิตติกร/ภาพ


 

 


Page 16 of 20

ผู้บริหารจัดการระบบ

แบบสำรวจความคิดเห็น

การศึกษามุ่งสู่ประชาคมอาเซียน?
 

ผอ.กศน.อ.พิบูลย์รักษ์

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

พยากรณ์อากาศวันนี้

อัตราราคาน้ำมันวันนี้